
บทความนี้เป็นสรุปทฤษฎีการเก็บเงินภาคปฎิบัติของผมเอง โดยถ่ายทอดในหนังสือสำหรับเด็ก ลูกสาวของผมได้นำไปปฎิบัติจริงมาหลายปี...ได้ผลดีครับ
วันนี้ฉันมีหลายอย่างที่จะทำให้ชีวิตสะดวกสบาย บ้านหลังใหญ่ตกแต่งภายในหรูหรา รถยนต์คันงาม และฉันยังได้ไปเที่ยวในที่ต่างๆในวันว่าง โดยไม่ต้องกินน้อย นอนลำบาก ทั้งยังซื้อของฝากใครต่อใครได้อย่างสบายใจ ด้วยอายุเพียงสี่สิบนี้ ฉันไม่ต้องทำงานหนักอีกแล้ว มีเวลาที่จะทำในสิ่งที่ชอบ นั่งวาดรูป อ่าน-เขียนหนังสือ และยังสามารถช่วยคนอื่นได้อีกมาก
ต้องขอบคุณสิ่งที่คุณพ่อดิฉันสอนไว้ ตั้งแต่ฉันยังอยู่ชั้นประถม ที่ทำให้มีวันนี้ได้
เย็นวันนั้น....พ่อกลับมาบ้านพร้อมถุงกระดาษใส่ของใบย่อม พ่อบอกว่า"พ่อมีของขวัญสำคัญมาฝากจ้ะ"
พ่อเปิดถุงแล้วเอาของข้างในมาวางบนโต๊ะ แล้วบอกว่า นี่คือวิชารวยก่อนแก่ พ่อตั้งชื่อให้มันว่า "เคล็ดลับกระป๋องออมสินหกใบ"
"เคล็ดลับอยู่ที่ว่า หนูต้องสัญญากับตัวเองให้เก็บเงินค่าขนมเป็นจำนวนที่แน่นอน มาใส่ในกระป๋องนี้ก่อน ก่อนที่หนูจะใช้เงินนั้น"
พ่อแนะนำให้ฉันแบ่งเงินเป็นสี่ส่วนเท่าๆกัน และนำมาเก็บเสียหนึ่งส่วน แล้วจึงนำอีกสามส่วนไปใช้ได้
"สมมุติว่าหนูได้ค่าขนมวันละสี่สิบบาท หนูก็แบ่งมาเก็บสิบบาท"
"และเมื่อโตขึ้น หนูก็ต้องแบ่งเงินเดือนมาเก็บก่อนที่จะใช้เหมือนกัน ยิ่งมีรายได้มากก็ต้องเก็บมากขึ้น"
"เอ! คุณพ่อขา ทำไมต้องมีตั้งหกใบล่ะคะ แล้วหนูจะเก็บในกระป๋องใบไหนเท่าไรคะ"
"กระป๋องแต่ละใบ เราจะใช้เก็บเงินเพื่ออะไร เผื่อใช้ในเรื่องที่ต่างกัน"
เพื่อให้จำได้ง่าย เราช่วยกันเอากระดาษสีมาหุ้มกระป๋องทั้งหกใบ ให้มีสีแตกต่างกัน
"เราจะตั้งหลักเอาไว้ว่า เราจะแบ่งเงินที่จะนำมาเก็บออกเป็นสิบส่วนเท่าๆกัน จากนั้นจะนำมาใส่ในกระป๋องสีต่างๆ ตามที่พ่อจะบอกนะ"
พ่อตั้งชื่อกระป๋องทั้งหกใบด้วย และฉันก็เขียนชื่อลงบนแต่ละกระป๋องตามที่พ่อบอก พร้อมทั้งอธิบายความหมาย
ใบสีเหลือง:=> ใช้เพื่อเก็บเงินที่เอาไว้ใช้ตอนอายุมากๆ หาเงินไม่ไหวแล้ว เรียกมันว่า"เผื่อชรา"เราจะเก็บเงินในกระป๋องใบนี้สี่ส่วน "ตามตัวอย่างที่พ่อบอกว่า หนูได้ค่าขนมวันละสี่สิบบาท ให้เก็บสิบบาท หนูก็ต้องเอามาใส่กระป๋องนี้สี่บาท"
เผื่อชรา= สีเหลือง= เก็บสี่บาท
ใบสีแดง:=> ใช้เพื่อเก็บเงินไว้เผื่อตอนที่เราป่วยหรือไม่มีงานทำชั่วคราว กระป๋องส่วนนี้น่าจะเรียกว่า"ถ้าฉุกเฉิน"
เก็บเงินไว้ในกระป๋องใบนี้หนึ่งส่วน วันนี้หนูเริ่มมีเงินเก็บในกระป๋องใบนี้หนึ่งบาท นานๆไปเมื่อหนูโตขึ้น หนูต้องพยายามให้มีเงินในกระป๋องนี้ เท่ากับรายได้ของหนู1ปีนะจ๊ะ
ถ้าฉุกเฉิน= สีแดง= เก็บหนึ่งส่วน
ใบสีส้ม:=>"ถ้าเราอยากมีรายได้ ตอนที่ไม่ได้ทำงานมีเงินเดือนแล้ว เราก็ต้องมีร้านหรือบริษัทของเราเอง และจ้างคนอื่นมาทำงานให้ หรือไม่ก็ไปเป็นหุ้นส่วนกับบริษัทอื่น แล้วได้รับส่วนแบ่งกำไร"เราจะเก็บเงินสองส่วน โดยใช้กระป๋องสีส้ม สะสมไว้เพื่อทำสิ่งนี้ เราเรียกมันว่า"เงินลงทุน"
เงินลงทุน= สีส้ม= เก็บสองส่วน
ใบสีขาว:=>"เมื่อมีเงิน เราก็ควรที่จะแบ่งปันไปทำบุญ หรือทำทานช่วยเหลือผู้อื่น ยิ่งเมื่อตอนหนูโตขึ้น ก็จะมีคนมาชวนทำบุญ ทอดกฐิน-ผ้าป่า หรือบริจาคตามมูลนิธิต่างๆ"ดังนั้นเพื่อมีเงินช่วยเหลือคนอื่นโดยไม่เดือดร้อน เราจึงควรเก็บเงินไว้หนึ่งส่วน ในกระป๋องสีขาว เรียกว่า "ทำบุญ-ทาน"เวลาใส่ซองช่วยงานแต่งงาน งานศพ งานทำบุญบ้านของญาติ หรือเพื่อน หนูก็ใช้เงินส่วนนี้ได้นะ
ทำบุญ-ทาน= สีขาว= เก็บหนึ่งส่วน
ใบสีเขียว:=> ให้ความรู้สึกว่าผ่านได้สะดวก กระป๋องใบนี้ใช้เก็บเงิน สำหรับซื้อของที่เราชอบ อาจจะเป็นตุ๊กตา หนังสือ ซีดี หรือไปเที่ยวทะเล ดูหนัง หรือไปกินข้าวมื้อพิเศษ ซึ่งอะไรก็ตามไม่ถึงกับจำเป็น แต่เราชอบที่จะทำหรือชอบที่จะมี พ่อจะเรียกกระป๋องใบนี้ว่า"ฉันอยากได้"อนุญาติให้หนูเก็บเงินในกระป๋องนี้สองส่วน
ฉันอยากได้= สีเขียว= เก็บสองส่วน
ใบสีฟ้า:=> "คุณพ่อขา เงินสิบบาทที่จะเก็บ หนูใส่ในกระป๋องห้าใบไปหมดแล้ว ทีนี้จะเอาอะไรใส่ในกระป๋องสีฟ้าล่ะคะ" กระป๋องสุดท้ายนี้เราเรียกว่า"ใช้ตามแผน"เป็นส่วนที่หนูต้องเก็บเงินเพิ่มจากปกติ โดยแบ่งจากส่วนที่เคยนำมาใช้ เวลาที่เราอยากได้อะไรที่ต้องใช้เงินมากหน่อย เราต้องวางแผนว่าเราจะซื้อเมื่อไหร่ แล้วต้องเก็บเงินวันละเท่าไหร่ เช่นหนูอยากได้จักรยานราคาหนึ่งพันบาท และตั้งใจจะซื้อให้ได้ภายในหนึ่งปี หนูก็จะต้องเก็บเงินเพิ่มใส่ในกระป๋องให้ได้วันละ3บาท
ใช้ตามแผน= สีฟ้า= เก็บเพิ่มต่างหาก
ขอขอบคุณจากบล้อคBy: คนคิดดี
Label: การเงินบุคคล
วันนี้ฉันมีหลายอย่างที่จะทำให้ชีวิตสะดวกสบาย บ้านหลังใหญ่ตกแต่งภายในหรูหรา รถยนต์คันงาม และฉันยังได้ไปเที่ยวในที่ต่างๆในวันว่าง โดยไม่ต้องกินน้อย นอนลำบาก ทั้งยังซื้อของฝากใครต่อใครได้อย่างสบายใจ ด้วยอายุเพียงสี่สิบนี้ ฉันไม่ต้องทำงานหนักอีกแล้ว มีเวลาที่จะทำในสิ่งที่ชอบ นั่งวาดรูป อ่าน-เขียนหนังสือ และยังสามารถช่วยคนอื่นได้อีกมาก
ต้องขอบคุณสิ่งที่คุณพ่อดิฉันสอนไว้ ตั้งแต่ฉันยังอยู่ชั้นประถม ที่ทำให้มีวันนี้ได้
เย็นวันนั้น....พ่อกลับมาบ้านพร้อมถุงกระดาษใส่ของใบย่อม พ่อบอกว่า"พ่อมีของขวัญสำคัญมาฝากจ้ะ"
พ่อเปิดถุงแล้วเอาของข้างในมาวางบนโต๊ะ แล้วบอกว่า นี่คือวิชารวยก่อนแก่ พ่อตั้งชื่อให้มันว่า "เคล็ดลับกระป๋องออมสินหกใบ"
"เคล็ดลับอยู่ที่ว่า หนูต้องสัญญากับตัวเองให้เก็บเงินค่าขนมเป็นจำนวนที่แน่นอน มาใส่ในกระป๋องนี้ก่อน ก่อนที่หนูจะใช้เงินนั้น"
พ่อแนะนำให้ฉันแบ่งเงินเป็นสี่ส่วนเท่าๆกัน และนำมาเก็บเสียหนึ่งส่วน แล้วจึงนำอีกสามส่วนไปใช้ได้
"สมมุติว่าหนูได้ค่าขนมวันละสี่สิบบาท หนูก็แบ่งมาเก็บสิบบาท"
"และเมื่อโตขึ้น หนูก็ต้องแบ่งเงินเดือนมาเก็บก่อนที่จะใช้เหมือนกัน ยิ่งมีรายได้มากก็ต้องเก็บมากขึ้น"
"เอ! คุณพ่อขา ทำไมต้องมีตั้งหกใบล่ะคะ แล้วหนูจะเก็บในกระป๋องใบไหนเท่าไรคะ"
"กระป๋องแต่ละใบ เราจะใช้เก็บเงินเพื่ออะไร เผื่อใช้ในเรื่องที่ต่างกัน"
เพื่อให้จำได้ง่าย เราช่วยกันเอากระดาษสีมาหุ้มกระป๋องทั้งหกใบ ให้มีสีแตกต่างกัน
"เราจะตั้งหลักเอาไว้ว่า เราจะแบ่งเงินที่จะนำมาเก็บออกเป็นสิบส่วนเท่าๆกัน จากนั้นจะนำมาใส่ในกระป๋องสีต่างๆ ตามที่พ่อจะบอกนะ"
พ่อตั้งชื่อกระป๋องทั้งหกใบด้วย และฉันก็เขียนชื่อลงบนแต่ละกระป๋องตามที่พ่อบอก พร้อมทั้งอธิบายความหมาย
ใบสีเหลือง:=> ใช้เพื่อเก็บเงินที่เอาไว้ใช้ตอนอายุมากๆ หาเงินไม่ไหวแล้ว เรียกมันว่า"เผื่อชรา"เราจะเก็บเงินในกระป๋องใบนี้สี่ส่วน "ตามตัวอย่างที่พ่อบอกว่า หนูได้ค่าขนมวันละสี่สิบบาท ให้เก็บสิบบาท หนูก็ต้องเอามาใส่กระป๋องนี้สี่บาท"
เผื่อชรา= สีเหลือง= เก็บสี่บาท
ใบสีแดง:=> ใช้เพื่อเก็บเงินไว้เผื่อตอนที่เราป่วยหรือไม่มีงานทำชั่วคราว กระป๋องส่วนนี้น่าจะเรียกว่า"ถ้าฉุกเฉิน"
เก็บเงินไว้ในกระป๋องใบนี้หนึ่งส่วน วันนี้หนูเริ่มมีเงินเก็บในกระป๋องใบนี้หนึ่งบาท นานๆไปเมื่อหนูโตขึ้น หนูต้องพยายามให้มีเงินในกระป๋องนี้ เท่ากับรายได้ของหนู1ปีนะจ๊ะ
ถ้าฉุกเฉิน= สีแดง= เก็บหนึ่งส่วน
ใบสีส้ม:=>"ถ้าเราอยากมีรายได้ ตอนที่ไม่ได้ทำงานมีเงินเดือนแล้ว เราก็ต้องมีร้านหรือบริษัทของเราเอง และจ้างคนอื่นมาทำงานให้ หรือไม่ก็ไปเป็นหุ้นส่วนกับบริษัทอื่น แล้วได้รับส่วนแบ่งกำไร"เราจะเก็บเงินสองส่วน โดยใช้กระป๋องสีส้ม สะสมไว้เพื่อทำสิ่งนี้ เราเรียกมันว่า"เงินลงทุน"
เงินลงทุน= สีส้ม= เก็บสองส่วน
ใบสีขาว:=>"เมื่อมีเงิน เราก็ควรที่จะแบ่งปันไปทำบุญ หรือทำทานช่วยเหลือผู้อื่น ยิ่งเมื่อตอนหนูโตขึ้น ก็จะมีคนมาชวนทำบุญ ทอดกฐิน-ผ้าป่า หรือบริจาคตามมูลนิธิต่างๆ"ดังนั้นเพื่อมีเงินช่วยเหลือคนอื่นโดยไม่เดือดร้อน เราจึงควรเก็บเงินไว้หนึ่งส่วน ในกระป๋องสีขาว เรียกว่า "ทำบุญ-ทาน"เวลาใส่ซองช่วยงานแต่งงาน งานศพ งานทำบุญบ้านของญาติ หรือเพื่อน หนูก็ใช้เงินส่วนนี้ได้นะ
ทำบุญ-ทาน= สีขาว= เก็บหนึ่งส่วน
ใบสีเขียว:=> ให้ความรู้สึกว่าผ่านได้สะดวก กระป๋องใบนี้ใช้เก็บเงิน สำหรับซื้อของที่เราชอบ อาจจะเป็นตุ๊กตา หนังสือ ซีดี หรือไปเที่ยวทะเล ดูหนัง หรือไปกินข้าวมื้อพิเศษ ซึ่งอะไรก็ตามไม่ถึงกับจำเป็น แต่เราชอบที่จะทำหรือชอบที่จะมี พ่อจะเรียกกระป๋องใบนี้ว่า"ฉันอยากได้"อนุญาติให้หนูเก็บเงินในกระป๋องนี้สองส่วน
ฉันอยากได้= สีเขียว= เก็บสองส่วน
ใบสีฟ้า:=> "คุณพ่อขา เงินสิบบาทที่จะเก็บ หนูใส่ในกระป๋องห้าใบไปหมดแล้ว ทีนี้จะเอาอะไรใส่ในกระป๋องสีฟ้าล่ะคะ" กระป๋องสุดท้ายนี้เราเรียกว่า"ใช้ตามแผน"เป็นส่วนที่หนูต้องเก็บเงินเพิ่มจากปกติ โดยแบ่งจากส่วนที่เคยนำมาใช้ เวลาที่เราอยากได้อะไรที่ต้องใช้เงินมากหน่อย เราต้องวางแผนว่าเราจะซื้อเมื่อไหร่ แล้วต้องเก็บเงินวันละเท่าไหร่ เช่นหนูอยากได้จักรยานราคาหนึ่งพันบาท และตั้งใจจะซื้อให้ได้ภายในหนึ่งปี หนูก็จะต้องเก็บเงินเพิ่มใส่ในกระป๋องให้ได้วันละ3บาท
ใช้ตามแผน= สีฟ้า= เก็บเพิ่มต่างหาก
ขอขอบคุณจากบล้อคBy: คนคิดดี
Label: การเงินบุคคล
No comments:
Post a Comment